วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยทำบุญ ทอดกฐิน

ประเพณีไทยทำบุญ ทอดกฐิน







  ปรเพณีไทย
เป็นประเพณีไทยทำบุญอย่างหนึ่งของไทยที่ทำในระยะเวลาที่กำหนดให้ในปีหนึ่ง ๆ เรียกว่ากฐินกาล

ช่วงเวลา
ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้

ความสำคัญ
เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม และไทยธรรมเป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์
คำ ว่า กฐิน ตามภาษาบาลีแปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อน เครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกไม่มีเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรต้องเย็บหลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนคันนาจึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้า ฉะนั้น ผ้าที่ทำด้วยไม้สะดึงเพื่อการนี้โดยเฉพาะจึงเรียกว่า ผ้าเพื่อกฐิน และยังเรียกผ้ากฐินตามความหมายเดิมเรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่ามีผ้าสำเร็จรูปทำเพื่อทอดกฐินโดยไม่ได้อาศัยไม้สะดึงก็ตาม
แต่ เดิมกฐินเป็นเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาเองจากที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยวิธีบังสุกุลและนำผ้านั้นมาเย็บย้อมเอง ต่อมาราษฎรมีจิตศรัทธานำผ้ามาถวายในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้รับผ้าจาก ราษฎรได้และเมื่อทรงอนุญาตให้กรานกฐินจึงเป็นสาเหตุให้ราษฎรบำเพ็ญกุศลด้วย การทอดกฐิน โดยนัดแนะกับพระ พระจัดการต้อนรับดังนี้เป็นต้น คำว่า ทอด คือ เอาไปวางไว้ การทอดกฐิน จึงหมายถึงการนำเอาผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจว่าจะถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ
ประเพณี การทอดกฐินของไทยมีหลักฐานปรากฏว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ และได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีทั้งกฐินที่พระมหากษัตริย์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลลงไปจนถึงกฐินของราษฎร

พิธีกรรม
กฐินมี ๒ ประเภท คือ กฐินราษฎร์ และกฐินหลวง
กฐิน หลวง หมายถึง กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดถวายหรือพระราชทาน ให้พระบรมวงศานุวงศ์และองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ ไปทอดถวาย
เมื่อ ถึงกำหนดเทศกาลทอดกฐิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินพระอารามหลวงในเขตที่ใกล้พระนคร เป็นส่วนมากเริ่มพระกฐินหลวงแต่วันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันแรก กำหนดเสด็จ ฯ ถวายผ้าพระกฐิน ๓ วัดหรือ ๒ วัด รุ่งขึ้นแรม ๗ ค่ำ พักวันหนึ่งวันที่พักนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จ ฯ ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง เพื่อให้เจ้าพนักงานเตรียมการที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินเป็น กระบวนพยุหยาตราสถลมารคส่วนกระบวนพยุหยาตราชลมารคจะต้องกำหนดในวันแรม ๙ ค่ำ ก็เพราะวันนี้ทางจันทรคติปรากฏว่าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงพระนครจะขึ้นมาก และนิ่งไม่ไหลขึ้นลง สะดวกในการที่จะจัดเป็นกระบวนพยุหยาตราทรงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ สับเปลี่ยนกันไปแต่ละปี
พระอารามหลวงที่ทางราชการกำหนด เป็นวัดที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็น
ประจำปี และเป็นหน้าที่ของสำนักพระราชวังที่จะต้องเตรียมการต่าง ๆ ในปัจจุบันมี ๑๖ วัด (๑) คือ
กรุงเทพมหานคร:
๑. วัดบวรนิเวศวิหาร (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๖)
๒. วัดสุทัศน์เทพวราราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๘)
๓. วัดพระเชตุนวิมลมังคลาราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๑)
๔. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๕)
๕. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๗)
๖. วัดมกุฎกษัตริยาราม (มีพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ ๔)
๗. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๔)
๘. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (เป็นวัดคู่พระบรมราชวงค์จักรี)
๙. วัดราชาธิวาส ( มีพระบรมราชสรีรังคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และ
พระบรมราชสรีรังคารสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
๑๐.วัดราชโอรสาราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๓)
๑๑.วัดอรุณราชวราราม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๒)
๑๒.วัดเทพศิรินทราวาส (รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างอุทิศถวายพระบรมราชชนนี)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา :
๑๓.วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เป็นวัดที่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกสร้างขึ้นไว้ ณ นิวาสสถานเดิม)
๑๔. วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชดำริให้สร้างเป็นวัดประจำพระราชวังบางปะอิน)
จังหวัดนครปฐม:
๑๕.วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม (มีพระบรมราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๖)
จังหวัดพิษณุโลก :
๑๖.วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก (เป็นวัดในประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ถือเป็นราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์เสวยราชย์บรมราชาภิเษกแล้วจะต้อง เสด็จฯ ไปถวายสักการะพระพุทธชินราช
ส่วน พระอารามหลวงที่นอกเหนือจาก ๑๖ วัด เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา กล่าวคือ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การคณะชน หรือเอกชนขอพระราชทานผ่านกรมการศาสนา เพื่อจัดบริวารกฐินให้เป็นของพระราชทาน แล้วผู้ได้รับพระราชทานจัดเพิ่มเติมหรือจัดจตุปัจจัยสมทบซึ่งเรียกกันว่า กฐินพระราชทาน แต่ถ้าเสด็จพระราชดำเนินไปถวายวัดใด ๆ ตามพระราชอัธยาศัย จะเป็นพระอารามหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ตาม เรียกว่า กฐินต้น ซึ่งโดยมากมักจะเสด็จไปถวายผ้ากฐินวัดราษฎร์ที่ขาดการบูรณะ
(๑) ถ้าสมเด็จพระสังฆราชประทับประจำที่วัดนอกจาก ๑๖ วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดนั้นเป็นประจำ การทอดกฐินเป็นพระราชประเพณีอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นธุระ บำเพ็ญพระราชกุศลมาตั้งแต่สมัยโบราณ การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินสมัยก่อน มีการเสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคและชลมารค เป็นการแห่พระกฐิน ซึ่งจุดมุ่งหมายเดิมของการแห่พระกฐินด้วยกระบวนพระพยุหยาตรานี้ เพื่อตรวจตราพลรบ อาวุธยุทธภัณฑ์ และฝึกซ้อมรบทั้งทางสถลมารค (ทางบก) และทางชลมารค (ทางน้ำ)
กฐินราษฎร์ คือ กฐินที่ราษฎรจัดทำขึ้น แบ่งออกเป็น มหากฐินและจุลกฐิน
มหากฐิน คือ การนำผ้าสำเร็จรูปแล้วไปถวายพระดังที่นิยมทำกันอยู่ทุกวันนี้ และมักนิยมเรียกกันว่า กฐิน ถ้ารวมกันออกทุนทรัพย์และร่วมกันจัดทอดเรียกว่า กฐินสามัคคี
การ ทอดกฐินนี้ ก่อนจะไปทอดกฐินวัดใดจำเป็นต้องไปแสดงความจำนงให้ทางวัดทราบเป็นการล่วงหน้า ก่อนเรียกว่า การจองกฐิน ซึ่งจองได้แต่เฉพาะวัดราษฎร์เท่านั้นสำหรับวัดหลวงจะต้องขอพระราชทาน ผ่านกรมการศาสนาดังได้กล่าวแล้ว เมื่อจองแล้วควรเขียนหนังสือปิดประกาศไว้เพื่อให้รู้ทั่วกันว่าวัดนี้จอง แล้ว ถือกันว่าใครจองก่อนก็ได้ทอดก่อน แต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธามากกว่าเป็นผู้ทอดก่อน ดังนั้น ในคำจองจึงปรากฏชื่อผู้ทอด จำนวนองค์กฐิน บริวารกฐิน กำหนดวันเวลาทอด แต่ถ้าใครมีศรัทธามากกว่านี้ จะเป็นผู้ได้ทอด เป็นต้น
การ จองกฐินนี้ เพื่อให้ทางวัดและชาวบ้านในละแวกนั้นเตรียมการต้อนรับ ทั้งในเรื่องความสะดวกสบายและอาหารการกิน เมื่อถึงวันกำหนดจะต้องนำผ้าซึ่งจะทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งอาจเป็นผ้าขาวที่ ยังไม่ได้เย็บ เย็บแล้วยังไม่ได้ย้อม หรือย้อมแล้วก็ได้ เรียกว่าองค์กฐิน และบริวารกฐิน ได้แก่พวกจตุปัจจัยไทยธรรมต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดตายตัว ว่าจะต้องมีมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้มักจะมีผ้าห่มพระประธานในโบสถ์อย่างน้อยผืนหนึ่ง เทียนสำหรับจุดในการสวดพระปาติโมกข์ ๒๔ เล่ม นำไปยังวัดที่จะทอด จะมีการสมโภชองค์กฐินก่อนก็ได้ และเมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว จะฉลองต่ออีกก็ได้ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของเจ้าภาพ ในขณะนำไปทอด อาจมีการแห่กฐินจะแห่ไปทางน้ำหรือทางบกขึ้นอยู่กับการคมนาคมทางไหนจะสะดวก กว่ากัน หรือจะไปอย่างเงียบ ๆ ก็ได้ เมื่อมาถึงวัด พระภิกษุมาพร้อมแล้ว ผู้ทอดกฐินอุ้มไตรกฐิน พนมมือ หันหน้าไปทางพระพุทธรูปว่า "นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส "๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐินว่าดังนี้
ถ้า เป็นวัดมหานิกาย "อิมํ สปฺปริวารํ กฐินจีวรทุสสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ทุติยมฺปิ อิมํ สปฺปริวารํ กฐินจีวรทุสสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ตติยมฺปิ อิมํ สปฺปริวารํ กฐินจีวรทุสสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม"
ส่วน วัดธรรมยุต กล่าวคำถวายดังนี้ "อิมํ ภนฺเต สปฺปริวารํ กฐินทุสสํ โอโณชยาม สาธุโณ ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปฺปริวารํ กฐินทุสสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตวา จ อิมินา ทุสเสน กฐินํ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย"
คำ กล่าวถวายนี้ หัวหน้าผู้ทอดจะกล่าวนำเป็นคำ ๆ หรือประโยคก็ได้ หรือกล่าวคนเดียวก็ได้ บางครั้งมีการโยงสายสิญจน์ถึงกันหมดด้วย หรืออาจจะกล่าวคำถวายเป็นภาษาไทยซึ่งแปลจากคำถวายภาษาบาลีก็ได้ เมื่อจบคำถวายแล้วพระสงฆ์รับ"สาธุ"เจ้าภาพประเคนไตรกฐินแก่ภิกษุรูปใดรูป หนึ่ง (โดยมากมักจะเป็นรูปที่ ๒) หรืออาจวางไว้ข้างหน้าพระสงฆ์ก็ได้ ต่อจากนี้จะถวายบริวารกฐินเลยก็ได้ พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี หรือจะรอฟังพระสงฆ์อปโลกนกรรมจึงจะถวายบริวารกฐินก็ได้
การทำ อปโลกนกรรม คือ ประกาศมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้ซึ่งมีจีวรเก่ามีพรรษามาก สามารถกรานกฐินได้ถูกต้อง ฉลาดมีความรอบรู้ธรรมวินัยเป็นต้น ภิกษุอีก ๒ รูปสวดออกนามภิกษุที่จะเป็นผู้รับผ้ากฐินเพื่อเสนอขออนุมัติจากที่ประชุม สงฆ์เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านภิกษุอีก ๒ รูปก็สวดประกาศซ้ำเป็นภาษาบาลี เรียกว่าญัตติทุติยุกรรม เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านก็เป็นอันว่าภิกษุที่ได้รับการเสนอนามเป็นผู้รับผ้า กฐินไป เสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นอันหมดภาระหน้าที่ของเจ้าภาพ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว อาจมีการแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับอานิสงส์กฐินหรือไม่มีก็ได้ บางแห่งอาจจัดให้มีการสนุกสนานรื่นเริง มีการแข่งเรือ เล่นเพลงเรือ เป็นต้น หลังจากนี้เป็นวิธีการกรานกฐินซึ่งเป็นหน้าที่ของสงฆ์โดยเฉพาะ กล่าวคือ ภิกษุผู้ครอง
ผ้ากฐินนำผ้ากฐินไปทำเป็นจีวรอย่างใดอย่างหนึ่งให้แล้วเสร็จในวันนั้น และนำมาบอกในที่ประชุมสงฆ์ภายในพระอุโบสถเพื่ออนุโมทนา
เมื่อ ทอดกฐินเสร็จแล้ว มักปักธงรูปจระเข้ไว้ที่วัดด้วย จะเป็นที่ศาลาวัด หน้าโบสถ์ หรือที่ใดๆที่เห็นง่ายเพื่อแสดงให้รู้ว่าวัดนั้นทอดกฐินแล้ว เพราะว่าวัดหนึ่ง ๆ สามารถรับกฐินได้เพียงปีละครั้งเดียว
จุล กฐิน เป็นกฐินอย่างหนึ่งที่ราษฎรจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ต่างกับกฐินธรรมดาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่เก็บฝ้ายมาปั่น ทอเป็นผืน กะตัด เย็บย้อมให้เสร็จในวันเดียว จุลกฐินจึงหมายถึงผ้าที่ทำสำเร็จมาจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆแต่ในบางท้องถิ่น เรียกว่า กฐินแล่น ซึ่งแปลว่า รีบด่วนจึงเข้าความหมายเพราะจุลกฐินเป็นกฐินที่ต้องเร่งทำให้เสร็จในวันนั้น มักจะทำในระยะเวลาจวนหมดเขตการทอดกฐิน เช่น ในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นต้น
ความ เป็นมาของจุลกฐิน เริ่มจากในสมัยพุทธกาล ครั้งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรงเห็นด้วยพระพุทธญาณว่าพระอนุรุทธมีจีวรอันเก่าขาดใช้การเกือบไม่ได้และก็ เป็นเวลาจวนจะสิ้นสุดกฐินกาลแล้ว จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ พระสงฆ์ ต่างก็ออกช่วยหาผ้าบังสุกุลจีวรตามที่ต่างๆ ต่ได้ผ้ายังไม่เพียงพอจะเย็บจีวรได้ ความทราบ ถึงนางเทพธิดาซึ่งเคยเป็นปราณทุติยิกา (ภรรยาเก่า) ของพระเถระในชาติก่อน จึงได้เนรมิตผ้าทิพย์หมกไว้ในกองขยะ เมื่อพระอนุรุทธผ่านมาพบเข้าจึงชักผ้าบังสุกุลแล้วนำไปสมทบในการทำจีวร ในการทำจีวรครั้งนั้นพระพุทธองค์เสด็จเป็นประธานและสนเข็ม พระสงฆ์สาวกพร้อมทั้งคฤหัสถ์ชาย-หญิงได้ช่วยกันโดยพร้อมเพรียง นับว่าเป็นการกระทำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้ทำผ้าแล้วเสร็จในวันนั้นก่อนอรุณขึ้น เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันของหมู่ภิกษุสงฆ์ ถ้าชักช้าจะทำให้ผู้ครองผ้ากฐินไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถในการกรานกฐิน นอกจากนี้เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระพุทธองค์เสด็จเป็นประธานในที่นั้นด้วย จะเห็นได้ว่าในตอนแรก ความยากลำบากในการทำจุลกฐินตกอยู่กับพระภิกษุสงฆ์ แต่ปัจจุบัน ความยากลำบากนี้ตกอยู่แก่ผู้ทอดเพราะต้องจัดการทุกสิ่งทุกอย่าง พระภิกษุสงฆ์เป็นเพียงผู้รับผ้ากฐินและนำไปกรานกฐินเท่านั้น ฉะนั้นจุลกฐินนี้คงมีเค้ามาจากการที่วัดบางวัดไม่ได้รับกฐินหลงเหลืออยู่ และจวนหมดเขตทอดกฐินแล้ว ชาวบ้านจึงช่วยกันขวนขวายจัดทำเมื่อระยะเวลากระชั้นชิด อีกประการหนึ่งสมัยก่อนผ้าสำเร็จรูปยังไม่มีขาย ประกอบกับลักษณะความเป็นอยู่แบบเลี้ยงตนเองและครอบครัวมีกิจการงานอย่างใด ก็ร่วมมือกันเมื่อต้องการผ้ากฐินอย่างรีบด่วนเช่นนี้ จึงต้องหาทางและร่วมแรงร่วมใจกันให้เป็นผลสำเร็จ
จุล กฐินนี้นิยมทอดกันในภาคเหนือ แพร่หลายเข้ามายังภาคกลางทางจังหวัดสุโขทัย และเข้ามากรุงเทพฯ เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก น่าจะนำมาจากราชประเพณีครั้งกรุงเก่า ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า ๒๖๘ ว่า"ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ (เดือน ๑๒)โปรดให้ทำจุลกฐิน คือทอดผ้ากฐินให้เสร็จในวันนั้น ผู้ทำจุลกฐินส่วนมากจะเป็นผู้มีทรัพย์มาก เพราะต้องอาศัยกำลังคนและทุนทรัพย์มาก ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำจุลกฐินกันแล้ว
วิธี ทำจุลกฐิน เริ่มตั้งแต่เก็บฝ้ายจากต้น มักจะนำเมล็ดปุยฝ้ายไปผูกไว้ แล้วทำทีไปเก็บมาจากต้นฝ้าย บางตำราก็ว่า เริ่มตั้งแต่ขุดดินทำแปลงปลูกฝ้าย แล้วนำต้นฝ้ายปลูกลง เอาเมล็ดฝ้ายมาผูกติดกับต้นฝ้าย ซึ่งเป็นเรื่องสมมติอีก เมื่อเก็บเมล็ดฝ้ายมาแล้ว (มักจะใช้สาวพรหมจารีเป็นผู้เก็บ) นำมากรอเป็นด้าย ทอเป็นผืนผ้า กะตัดเย็บย้อม ตากให้แห้ง โดยแบ่งหน้าที่กันทำ แล้วนำไปทอดให้พระสงฆ์ได้กรานกฐินทันในวันนั้น
การ ทอดกฐินชนิดนี้ ถือ ว่าได้อานิสงส์มากกว่าทอดกฐินธรรมดาหลายเท่าเพราะเหตุว่าทำในช่วงเวลาจำกัด คือ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงรุ่งอรุณของวันใหม่และต้องใช้กำลังคน ทุนทรัพย์มาก ถ้าทำไม่ทันเป็นอันเสียพิธีฉะนั้นเมื่อทำเสร็จทันเวลาจึงส่งผลต่อจิตใจของ ผู้ทำบุญเป็นอย่างมาก
ยัง มีกฐินอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า กฐินโจร เป็นกฐินที่ราษฎรจัดทำขึ้นในวันจวนจะหมดเขตกฐินกาล คือ ในราว ๆ วันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ด้วยการสืบหาวัดที่ยังไม่ได้รับการทอดกฐินและจัดหาผ้ากฐินไปทอด เรียกว่ากฐินตก กฐินตกค้าง หรือกฐินจรก็มี เพราะเป็นวัดที่ตกค้างไม่มีผู้ใดมาจองกฐินไว้ ซึ่งตามธรรมดาการทอดกฐินต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้พระภิกษุสงฆ์วัดนั้นทราบ ล่วงหน้า จะได้เตรียมการต้อนรับและเพื่อมิให้มีการทอดกฐินซ้ำ แต่กฐินโจรนี้ไม่มีการบอกล่วงหน้า จู่ ๆ ก็ไปทอดเฉย ๆ เป็นการจู่โจมไม่ให้พระสงฆ์รู้ ส่วนวิธีการทอดนั้นเหมือนกับการทอดกฐินทั่วไป กล่าวคือ เจ้าภาพกล่าวคำถวายผ้ากฐิน ถวายบริวารกฐิน ฟังพระอนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี
การ ทอดกฐินประเภทนี้นับว่าได้อานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินธรรมดามากเพราะเป็นการ อนุเคราะห์พระสงฆ์ให้มีโอกาสกรานกฐินในระยะเวลาจวนจะหมดเขตการทอดกฐินอยู่ แล้ว

สาระ
การ ทำบุญกฐินนี้ก่อให้เกิดอานิสงส์ทั้งผู้ทอดและภิกษุสงฆ์ สำหรับภิกษุสงฆ์นั้น มีบัญญัติไว้ในพระวินัยว่าผู้กรานกฐินแล้ว จะได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์ได้
๔. ทรงอดิเรกจีวรได้ได้ตามปรารถนา (ในพระวินัยกำหนดให้ภิกษุเก็บผ้าจีวรเกินจากสำรับที่นุ่งไม่ได้ เก็บได้เพียงแค่ ๑๐ วัน หลังจากนี้ต้องสละให้ผู้อื่นไป ถ้ากรานกฐินแล้วเก็บได้เกินกว่านี้)
๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว
การ ที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ในพระวินัย ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐินแล้วได้รับการยกเว้น เพราะเกิดปัญหาและข้อขัดข้องบางประการ อันก่อให้เกิดความลำบากแก่ภิกษุสงฆ์ เช่น ต้องบอกลา ถ้าอยู่คนเดียวก็บอกลาไม่ได้ การต้องเอาจีวรไปให้ครบ การฉันอาหารล้อมวงกันไม่ได้ การเก็บจีวรสำรองไว้ไม่ได้ นับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นดังที่พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นความลำบากของภิกษุ จึงมีพุทธานุญาตให้กรานกฐิน นับเป็นความดีความชอบประการหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ต้องร่วมมือร่วมใจ กัน พระพุทธองค์จึงทรงกำหนดข้อยกเว้นไว้ให้
ส่วน อานิสงส์สำหรับผู้ทอดนั้น เชื่อกันว่าได้บุญกุศลแรง เพราะปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียงครั้งเดียวและมีฤดูกาลทอด เป็นผลให้ผู้ทอดมีจิตใจแจ่มใสและปีติยินดีในบุญกุศลที่ตนได้ทำไว้ นอกจากนี้ยังสามารถขจัดความโลภ โกรธ หลง โดยทางอ้อมได้อีกด้วย กล่าวคือ กำจัดความโลภในวัตถุทานที่ได้บริจาคแล้วนั้น กำจัดความโกรธเพราะได้ฟังอนุโมทนาบุญนั้น กำจัดความหลงเข้าใจผิดเพราะทำด้วยมือของตนเองในบุญนั้นได้

ประเพณีไทยนบพระเล่นเพลง ภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีนบพระเล่นเพลง ภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชร


ประเพณีไทยนบพระเล่นเพลง ภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชร
ความเป็นมาของงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง

     ตั้งแต่ สมัยโบราณ บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆ หลายเมือง เช่น เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร และเมืองพาน ต่อมาในภายหลังเมืองต่างๆ ได้ล่มสลายไปตามความเปลี่ยนแปลงของระบบการปกครองและกาลเวลาจนกระทั่งเหลือ แต่เมืองชากังราวและกลายเป็นจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน
      ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าลิไทหรือพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงสุโขทัย เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก มี การประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกหัวระแหง จากศิลาจาลึกนครชุมที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ทราบว่าได้มีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ ในองค์เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมทั้งได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่ด้านหลังองค์เจดีย์ด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นประเพณีของชาวไทยสมัยโบราณ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินก็จะนำผู้ครองนครเจ้าเมืองน้อยใหญ่ พร้อมทั้งเหล่าไพร่ฟ้าข้าราชบริพารและประชาชน จัดตกแต่งขบวนเป็นพยุหยาตรา พากันไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุ เป็นประจำ เรียกสั้นๆ ว่าพากันไป “นบพระ” และเนื่องจากการเดินทางติดต่อคมนาคมในสมัยก่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องเดินทางด้วยเท้า พาหนะก็มีแต่ช้าง ม้า วัว ควาย และเกวียนเท่านั้น กว่าจะเดินทางไปถึงและนมัสการพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยก็มืดค่ำ จึงจำเป็นต้องค้างพักแรมกันในบริเวณวัดต่อจนรุ่งเช้าของอีกวันหนึ่งจะได้ กลับ
      เป็นธรรมดาของชาวไทยทั่วไป ซึ่งมีอารมณ์ศิลปินประจำใจ เมื่อมาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากต่างท้องถิ่นกันด้วย จึงจัดการแสดงการละเล่นต่างๆ ประกวดประชันแข่งขันกันตามขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละหมู่บ้านเรียกกันว่า “เล่นเพลง
งานประเพณีนบพระ - เล่นเพลง จ.กำแพงเพชร
       จัดขึ้นในระหว่างวันมาฆบูชาหรือวันเพ็ญเดือนสาม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการฟื้นฟูงานประเพณีดั้งเดิมตามหลักฐานในศิลาจารึกเมืองพระชุม หรือเมืองนครชุม ที่กล่าวถึงการจัดขบวนแห่ไปนบพระมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ขบวนจะข้ามแม่น้ำปิงไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ที่ฝั่งนครชุม มีการแสดงมหรสพ ศิลปวัฒนธรรมไทย และการออกร้านของส่วนราชการและเอกชน
กิจกรรมและการแสดง
     ในงานประเพณี  "นบพระเล่นเพลงและงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร" ประจำปี 2550 ระหว่างวันที่ 3 - 11 มีนาคม 2550
     นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และร่วมถวายความจงรักภักดี ณ บริเวณ "สวนสักแห่งความจงรักภักดี " ประกอบด้วย
         การแสดง นิทรรศการ เรื่อง " เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง " เรื่อง " เกษตรทฤษฎีใหม ่" และเรื่อง " คำพ่อสอน          
          กิจกรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร กิจกรรมมัจฉาพาโชคของจังหวัดกำแพงเพชร และการจำหน่ายสินค้าจากทั่วทุกภูมิภาคของประเมศและอื่น ๆ อีกมากมาย
         การแสดงนิทรรศการการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ใน รูปแบบของหมู่บ้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ( OTOP Village ) มีการจัดจำหน่ายและสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ 4 - 5ดาว เช่น สาธิตการทอผ้า / สาธิตการประกอบอาหาร ( ทำกระยาสารท ผลิตภัณฑ์จากกล้วย ขนมเทียน ) สาธิตการทำศิลปะประดิษฐ์ การทำไม้กวาดดอกหญ้า  โคมไฟ  ดอกไม้จากดินญี่ปุ่น ( สาธิตในในเวลา 18.00 - 22.00 น. )
         การจำลองวิถีชีวิตและการแสดงของพี่น้องชาวไทยภูเขา มี การแสดงและสาธิตวิถีความเป็นอยู่ และประเพณีสำคัญ เช่นประเพณีปีใหม่ของชาวเผ่าม้ง เผ่า ( การโยนลูกข่าง เป่าแคน ) พิธีแต่งงาน ของเผ่าเย้า และพิธีลุยไฟของเผ่าเย้า พิธีทำบุญก่อกองทรายของเผ่ากะเหรี่ยง พิธีสืบชะตาของเผ่าเย้า เผ่ากะเหรี่ยง
          การออกร้านนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้าของภาคราชการและภาคเอกชน
          การประดับตกแต่งไฟแสง สี เสียง บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก ( World Heritage Historical Park )
          การแสดง แสง สี เสียง ชุด " กำแพงเพชร เทพเนรมิต เมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งลุ่มแม่น้ำปิง " บริเวณป้อมกำแพงเพชร เมืองโบราณ และชมการแสดง ด้วยการล่องเรือ ในบริเวณคูน้ำรอบกำแพงเมืองโบราณ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ชมกำแพงเมืองโบราณในยามค่ำคืน ประดับประดาด้วย ตะเกียงดวงประทีป
โดย เปิดรอบปฐมทัศน์ วันที่ 3 มีนาคม 2550 จัดแสดง 1 รอบเวลา 20.00น.
วันที่  1 , 5 , 10 และ 11 มีนาคม 2550 จัดแสดง 2 รอบ
รอบที่ 1 เริ่มแสดง เวลา 19.30 น.
รอบที่ 2 เริ่มแสดง เวลา 21.00 น..
          ลานแสดงศิลปวัฒนธรรม ชมการแสดงศิลปะนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค และการแสดงของชาวไทยภูเขา ณ ลานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร่

ประเพณีไทยยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2555

ประเพณีไทยยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2555

 
ประเพณีไทยยี่เป็ง

ประเพณีไทยยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดการจัดงาน วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 (เวลา 17.00 น.- 20.30 น.) สถานที่จัดงาน ธุดงคสถานล้านนา การเข้าร่วมกิจกรรม ” ฟรี ” ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กิจกรรม เชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมในงานบุญประเพณีทอดกฐินล้านนาสามัคคี และ งานบุญประเพณียี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สร้างมหากุศลให้เมือง เชียงใหม่ และเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ การสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย แบบทำนองสรภัญญะ การนั่งสมาธิเจริญภาวนา การเวียนเทียน การจุดประทีป การลอยโคมถวายเป็นพุทธบูชา พุทธศาสนิกชน ที่มีจิตศรัทธาเข้าร่วมงาน โปรดสวมชุดสีขาว ชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย และรักษาประเพณีเข้าวัดอันเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถร่วมทำบุญสนับสนุนโคมมาตราฐานได้ในพื้นที่จัดงาน ไม่อนุญาตให้นำโคมไม่ได้มาตราฐานเข้ามาในงานและเพื่อความปลอดภัย และถนนเข้างานจะปิดภายในเวลา 17.00 น. จึงควรเผื่อเวลาการเดินทางไว้ล่วงหน้า *มาร่วมปล่อยโคมยี่เป็งเพื่อถวายเป็นพุทธบูชากันนะครับ

ประเพณีไทยและประวัติวันลอยกระทง 2555

ประเพณีไทยและประวัติวันลอยกระทง 2555




การลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคภิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (1) เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้
      ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและ ลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่ง บรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยว แก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน


      ยี่เป็งสันทราย ได้จัดประเพณีลอยกระทง และลอยโคม ซึ่งเป็นภาพวัฒนธรรมไทยที่งดงามมากในสายตาของชาวโลก และยังได้มีการจัดลอยโคมที่มองโกเลีย และอินเดียเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย

      2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต  ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ ใช้ทิ้งขว้าง  ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา


ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง  


คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล


ประวัติวันลอยกระทงในประเทศไทย


วันลอยกระทง 2554 

การลอยกระทงในประเทศไทยมีมาตั้วแต่ครั้งสุโขทัย 
      การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็น งานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสาย หนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท


      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)


      รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธ ประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีเพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
      1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
      2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี


ลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี



     เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันทะ มหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทรายขาวสะอาด ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณี เจดียสถานในเทวโลก พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ 

ตำนานการลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก 

       เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)

กำหนดการวันลอยกระทง

     วันลอยกระทง จัดขึ้นในทุกวันเพ็ญเดือนสิบสองของปี เป็นวันที่น้ำเต็มตลิ่ง วันเพ็ญซึ่งเป็นวันสว่าง และเดือนสิบสองที่มีน้ำเต็มตลิ่ง เหมาะกับการลอยกระทง
กระทงสำหรับลอยบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ลักษณะของกระทงที่ใช้ลอย

ลักษณะของกระทงที่ใช้ลอย

1. กระทงใบตอง ปักด้วยเทียน เป็นการบูชาพระสัมาสัมพุทธเจ้าด้วยแสงสว่าง
2. กระทงโฟม ต่อมามีโฟมก็เลือกใช้โฟม
3. กระทงสาย ทำจากกะลามะพร้าว ที่ขัดให้สะอาดและหลอมเทียนพรรษาใส่ลงไปในกะลาจุดเทียนแล้วลอยลงแม่น้ำ ไหลตามกันเป็นสายตามร่องแม่น้ำปิง ซึ่งมีสันทรายอยู่ใต้น้ำ จึงเรียกกระทงสาย ซึ่งประเพณีของจังหวัดตาก

จุดประสงค์ของการจุดดอกไม้ไฟในวันลอยกระทง

     สมัยโบราณเดิมทีเดียวยังไม่มีการจุดดอกไม้ไฟ แต่เป็นการเพิ่มเติมมาทีหลัง เพื่อสร้างความคักคักสนุกสนาน

การลอยกระทง เรา ควรจะนึกถึง เป้าหมายดั้งเดิมของประเพณี คือ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นึกถึงคุณของน้ำ และบริหารจัดการน้ำอย่างถูกหลัก ขณะเดียวกันให้ระมัดระวังเรื่องเมาสุรา ทะเลาะวิวาท ปัญหาชายหญิง ก็จะเป็นการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามไว้
ลอยกระทงปีนี้ มาลอยกระทงออน์ไลน์กัน
 
 
 
 
  
 
  

  





 
 
 
 

 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คลิปประเพณีไทย

clip ประเพณีไทย

 
ฮีตสิบสอง ประเพณีไทย
 
ราชินีแห่งงานประเพณีไทย Thai Northeast Folk Music 
 

สืบสานประเพณีไทย ภาค 1  
เขยฝรั่งแต่งงานประเพณีไทยอีสาน  
รอบรู้ ประเพณีไทย บ้านสอบครู อ บวร

สยามนาวา วัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เรือยาวประเพณีไทย

ประเพณีไทย 4 ภาค

ขอบคุณข้อมูล : youtube

ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีไทยชิงเปรต

ชิงเปรต เป็นประเพณีไทยของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีไทยที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วหากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรกปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั่นคือวันส่งเปรตกลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญนั้น พิธีกรรม
ประเพณีไทยชิงเปรต

การตั้งเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัดหลักๆก็จะเป็นขนมพอง ขนมลา ขนมเบซำ (ดีซำ) นอกจากนี้ก็อาจจะมีเป็นผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน “ร้านเปรต” หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกันซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีทั้งความชุลมุนและความสนุกสนานผสมกันเป็นที่เฮฮาของบรรดาผู้
 
ประเพณีไทย

การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐ ๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า ๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ ๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน ๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ ๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน การชิงเปรต เป็นประเพณีไทยที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทยปอยส่างลอง

ปอย ส่างลอง” เป็นงานประเพณีไทยบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีไทยที่มีมาดั้งเดิม พิธีกรรม
ประเพณีไทยปอยส่างลอง

มี ๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร

๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ วัน แรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ วัน ที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่ วัด เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย



ประเพณีไทย

๑. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๒. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
๓. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๔. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๕. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๖. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๗. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไทยไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีภาคอีสาน บางทีเรียกว่า "เฮือไฟ" ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา เพื่อบูชารอยพระพุธทบาทของพระสัมมาสัมพุธเจ้า โดยประวัติความเป็นมานั้นพระพุทธเจ้าทรงเสร็จไปแสดงธรรมเทศนาพญานาค ณ เมืองบาดาล ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และพญานาคได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ ซึ่งต่อมาทั้งเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งได้ได้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาท และประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาแม่น้ำที่ได้ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูล ลงในแม่น้ำ และเป็นการเผาเอาความทุกข์ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
ประเพณีไทยไหลเรือไฟ

งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมจัดกันในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในส่วนของเรื่อไฟจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ โดยจะนำไม้ที่ลอยน้ำมาผูกติดกับแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ จะอยู่ส่วนบนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ยาวตั้งล้ำขึ้นทั้ง 3 ลำ ซึ้งใช้สำหรับรับน้ำหนังไม้ไผ่เล็กๆ ที่ผูกรวมยืดกันไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยม เรียกแผง และวางแผนงานว่าจะออกแบบแผงออกเป็นรูปอะไร ซึ่งในสมัยก่อนนิยมออกแบบเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา

ประเพณีวันออกพรรษาของไทย

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษาของไทย ตรงกับวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด เป็นวันที่พระภิกษุสงฑ์ต้องอยู่จำวัดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หมายถึง วันที่พระภิกษุต่างตักเตือนซึ้งกันและกันโดยไม่มีการโกรธเคือง กล่าวถึงเรื่องบกพร่องต่างๆ


ในระยะเวลา 3 เดือนที่ได้อยู่ร่วมกัน และผู้ที่ถูกกล่าวเตือนต้องยอมรับและพิจรณาตนเอง ซึ่งผู้ที่กล่าวตักเตือนนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่มีความปราถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าว หลักการปฏิบัตินี้สามารถนำมาปฏิบัติหรือใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนหรือการพัฒนาองค์กรได้เป็นอย่างดี ประเพณีไทย

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยการบวชลูกแก้ว

ประเพณีการบวชลูกแก้ว

ประเพณีไทย บวชลูกแก้ว หรือปอยส่างลอง หมายถึง ประเพณีบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ซึ่งพบเห็นกันตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอขุนยวม อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้ที่เข้าร่วมประเพณีนี้สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่

งานบวชลูกแก้ว เป็นพิธีเฉลิมฉลองการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธ จัดงานประมาณ 3 วัน หรือ 5 – 7 วัน นิยมจัดในช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ชาวบ้านเว้นว่างจากทำนาทำไร่ และปิดเทอม ในการบรรพชาเป็นสามเณรครั้งนั้นก็เพื่อศึกษาพุทธธรรมเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา ก่อนถึงวันส่างลองหนึ่งวัน เด็กผู้ชายที่เข้าร่วมต้องปลงผมและอาบน้ำ เจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ อย่างอลังการ


คลิปประเพณีไทย ปอยส่างลอง (บวชลูกแก้ว)
วันแรกของปอยส่างลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปรอบๆ เมืองตามถนนหนทาง ขบวนแห่ประกอบด้วยเสียงดนตรีของชาวไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลอง-มองเซิง (กลองสองหน้า) แต่เดิมลูกแก้วจะขี่ม้า แต่ม้าหายากจึงเปลี่ยนมาเป็นการนั่งเก้าอี้แทน เพราะลูกแก้วเปรียบเสมือนเทวดา ต้องใส่ถุงเท้าขาวตลอด 3 วัน ห้ามมิให้ลูกแก้วเหยียบพื้น วันที่สองก็เป็นขบวนแห่ด้วยเครื่องสักการะเพื่อถวายพระพุทธและเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ วันที่สามเป็นวันบวช ก็เริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปวัดเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง เป็นสามเณรโดยสมบูรณ์

ประเพณีไทยเลี้ยงผี

ประเพณีไทย

ประเพณีเลี้ยงผี เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ (ตรงกับเดือน 4 ของไทยภาคกลาง)จนถึงเดือน 8 ของทุก ๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ไปแล้ว
ประเพณีไทยเลี้ยงผี
ประเพณีไทยเลี้ยงผี 
เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน หมู เป็ด ไก่ ขนมและอาหารอื่น ๆ ไปถวายผีบรรพบุรุษของตน โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลีย้งผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผีมด" และ"ผีเม้ง" ผีมด คือ การทำพิธีที่ผู้จัดต้องสร้างประรำขึ้น ที่หลังคาประจำจะมีข้าวพองผูกติดไว้เพื่อสำหรับผีเข้าคนทรางยิงด้วยธนู ผีเม้ง คือ การทำพิธีที่ผู้จัดจะสร้างประรำแบบกระโจม และมีเชือกมัดแขวนไว้ตรงกลางประรำ สำหรับให้ผู้ที่จะมาฟ้อนรำถวายจับเชือกนั้น
ในการฟ้อนรำถวายผีแบบผีเม้งนี้ ผู้ที่จะเข้าฟ้อนรำถวายต้องแต่งตัวตามโบราณ คือ นุ่งโสร่งกระโจมอก พันศรีษะด้วยผ้าสีต่าง ๆ และบ้างก็ทัดดอกไม้ที่หู

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเพณี

ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยเป็นเอกลักษณ์ เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ท่าทาง ฯลฯ เป็นต้น อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ
ประเพณีไทยภาคเหนือ
ประเพณีไทยภาคเหนือ-ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีไทยภาคอีสาน-ขบวนแห่บั้งไฟ

ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟ ภาคกลาง ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ ภาคใต้ ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย เป็นต้น ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

ประเพณีไทยภาคกลาง
ประเพณีไทยภาคกลาง-ประเพณีแห่ธงสงกรานต์

ประเพณีไทยภาคใต้
ประเพณีไทยภาคใต้-ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย


ประเพณีไทย 4 ภาค